.




พ.ศ. ๒๕๖๖

พ.ศ. ๒๕๖๕

พ.ศ. ๒๕๖๔

พ.ศ. ๒๕๖๓

พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๑   
พ.ศ. ๒๕๖๐

พ.ศ. ๒๕๕๙

พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๗

 
 
                    กฐินพระราชทาน ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗                     

 ที่ กษ ๐๔๐๑/ว ๙๒๙ ลงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖
     เรื่อง ขอเชิญร่วมอนุโมทนาพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗
 [ทุกหน่วยงานในสังกัด กตส.]  
     เรื่อง ขอเชิญร่วมอนุโมทนาพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ 
 [หน่วยงานอื่นในสังกัด กษ.] 
     เรื่อง ขอเชิญร่วมอนุโมทนาพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗  
 [หน่วยงานอื่นนอกสังกัด กษ.] 




วัดบูรพาภิราม 

     วัดบูรพาภิราม ตั้งอยู่ที่ถนนผดุงพานิช ตำบลในเมือง ในเขตเทศบาลเมือง มีพระพุทธรูปปางประทานพรที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ประทับยืนเด่นเป็นสง่ามองเห็นได้จากระยะไกล เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวร้อยเอ็ด นอกจากนี้องค์พระเจ้าใหญ่ยังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด ตามคำขวัญของเมืองร้อยเอ็ดว่า "สิบเอ็ดประตูงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกตุ บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ไชยมงคลงามน่ายลบึงพระลานชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ"พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือพระเจ้าใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ องค์พระนั้นสร้างขึ้นด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ความสูงของ องค์พระวัดจากพระบาทถึงยอดเกศสูงถึง ๕๙ เมตร ๒๐ เซนติเมตร และมีความสูงทั้งหมด ๖๗ เมตร ๘๕ เซนติเมตร ที่ฐานพระพุทธรูป องค์นี้มีห้องที่ใช้ในศาสนกิจและห้องพิพิธภัณฑ์จำนวนหลายห้อง

ประวัติวัดบูรพาภิราม

     วัดบูรพาภิรามสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๖ เดิมชื่อ วัดหัวรอ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดบูรพาภิราม เพราะในสมัยนั้นได้ใช้เป็น สถานที่สำหรับพักค้างแรมของพ่อค้าและประชานที่อาศัยการเดินเท้าเป็นหลัก เพราะยังไม่มีพาหนะการเดินทางสะดวกเหมือนปัจจุบัน วัดหัวรอจึง เป็นจุดเริ่มของการพักแรมในคืนแรกของการเดินทางและมักเป็นจุดนัดพบกันที่วัดแห่งนี้ ต่อมาพระอธิการหล้าอินทว์โส ได้ขยายวัด ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และได้เรียกชื่อวัดใหม่ว่า "วัดบูรพา" เพราะว่าตั้งอยู่ในทิศตะวันออกของเมือง แต่ในเวลาต่อมาได้ เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ เพื่อความเหมาะสมว่า "วัดบูรพาภิราม" ด้านทิศตะวันออกของบริเวณวัดอยู่ติดกับคูรอบเมืองสมัยเก่า นอกจากนี้ภาย ในบริเวณวัดยังเป็น ที่ตั้งศูนย์งานพระธรรมทูต โรงเรียนปริยัติธรรม และมีศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์ ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวเมืองอยู่ด้วย ความเชื่อและวิธีการบูชา ชาวร้อยเอ็ดถือว่าพระเจ้าใหญ่นั้นเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่คอยปกป้องคุ้มครองชาวร้อยเอ็ดให้มีชีวิต ความเป็นอยู่อย่างร่มเย็น เป็นสุขด้วยความสูงขององค์พระทำให้เกิดความเชื่อว่า หากได้มากราบไหว้ จะได้อานิสงส์สูงเทียมเมฆ เทียม ฟ้าทำการสิ่งใดก็สำเร็จผลด้วยประการทั้งปวง